Skip to main content

หน้าหลัก

กฏหมายแรงงาน

เรื่องควรรู้ของแรงงาน : ระบบประกันสุขภาพและเงินบำนาญ สาธารณรัฐเกาหลี

สาธารณรัฐเกาหลี ติดอันดับประเทศที่แรงงานไทยต้องการเข้ามาทำงาน ด้วยอัตราค่าตอบแทนสูง

แต่ก่อนจะตัดสินใจเดินทางเข้ามาทำงาน ควรศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านและรอบคอบ เนื่องจากสาธารณรัฐเกาหลี เป็นประเทศที่มีอัตราค่าครองชีพสูงด้วย หากเจ็บไข้ได้ป่วย ค่ารักษาพยาบาลก็สูงด้วยเช่นกัน ฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับการประกันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแรงงาน ได้แก่ การประกันสุขภาพกรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และการประกันกรณีชราภาพ เพื่อจะได้รับทราบสิทธิและหน้าที่ ก่อนตัดสินใจเข้ามาทำงาน

  1. การประกันกรณีเจ็บป่วยไม่เนื่องจากการทำงาน

สาธารณรัฐเกาหลี กำหนดให้นายจ้างที่ได้รับการอนุญาตการจ้างงานแรงงานต่างชาติ (Employment Permit System: EPS) ต้องสมัครประกันสุขภาพ ที่เรียกว่า “การประกันสุขภาพ คอนกังโบฮอม” ให้แก่แรงงานต่างชาติ (วีซ่า E-9) ภายใน 14 วันนับจากวันทำสัญญาจ้าง โดยนายจ้างและลูกจ้าง จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพทั้งสองฝ่ายเท่ากัน ผู้เอาประกันจะได้รับบัตรประกันสุขภาพภายใน 7 วัน นับตั้งแต่ วันขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันสุขภาพ เพื่อใช้แสดงตนเมื่อขอรับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง ทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน โดยแรงงานต่างชาติจะได้รับสิทธิ์การรักษาพยาบาลเทียบเท่าคนเกาหลี ทั้งนี้ ผู้เอาประกันจะได้รับการคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วยทั่วไปที่ไม่ใช่สาเหตุมาจากการทำงาน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ระบบประกันสุขภาพของสาธารณรัฐเกาหลี เป็นระบบร่วมจ่ายแม้ผู้ป่วยจะมีประกันสุขภาพแล้วก็ตาม ผู้ป่วยจะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลทุกครั้งที่พบแพทย์  โดยมีอัตราการร่วมจ่าย ระหว่าง 20% – 60% ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสุขภาพกำหนด ขึ้นอยู่กับประเภทการรักษาพยาบาล (ผู้ป่วยนอก/ผู้ป่วยใน) และสถานพยาบาล เช่น คลินิก โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลที่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค อัตราเบี้ยประกันสุขภาพได้ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2566 ในอัตรา 7.09%  ของรายได้ทั้งหมด โดยนายจ้างจ่าย 3.545% และลูกจ้างจ่าย 3.545%

                   นอกจากนี้ สาธารณรัฐเกาหลีได้มีข้อยกเว้นให้แก่แรงงานต่างชาติระบบ EPS ไม่ต้องสมัครประกันการพักพื้นระยะยาว (Long term care insurance) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2558 เป็นต้นไป แรงงานต่างชาติตามระบบ EPS ไม่ต้องทำประกันประเภทนี้ เนื่องจากประกันดังกล่าวคุ้มครองผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่อายุต่ำกว่า 65 ปี แต่ที่มีอาการสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง เป็นผู้ที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ แรงงาน EPS จึงไม่ได้อยู่ในเงื่อนไข เนื่องจากอายุของแรงงาน EPS กำหนดว่าต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปและไม่เกิน 39 ปี  มีสุขภาพแข็งแรง ดังนั้น เมื่อแรงงานเจ็บป่วยด้วยโรคเหล่านี้ก่อนวัยอันควร ค่ารักษาพยาบาลที่ต้องร่วมจ่ายจึงสูงมาก

  1. การประกันกรณีประสบอันตรายอันเนื่องจากการทำงาน

สาธารณรัฐเกาหลี มีพระราชบัญญัติ ประกันค่าทดแทนอุบัติเหตุในอุตสาหกรรม (Industrial Accident Compensation Insurance Act) กำหนดให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องทำประกันอุบัติเหตุในการทำงานให้ลูกจ้างทุกคนภายใน 15 วัน นับจากวันทำสัญญาจ้างงาน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างประจำหรือชั่วคราว ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือบาดเจ็บจากการทำงาน โดยไม่คำนึงถึงสาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บ ซึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้ หรือความผิดของลูกจ้าง และไม่คำนึงถึงสถานะ แม้ว่าจะทำงานกับสถานประกอบการที่ผิดกฎหมาย หรือเป็นแรงงานต่างชาติที่เข้ามาแบบผิดกฎหมาย โดยลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานจะได้รับการรักษาพยาบาล /ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ /ค่าทดแทนการขาดรายได้ /ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ /หากประสบอันตรายถึงแก่ความตาย นอกจากได้รับค่าทำศพแล้ว ทายาทยังได้รับเงินทดแทนอีกด้วย กรณีลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน และอยู่ระหว่างการพักรักษาตัวสามารถปฏิเสธการทำงาน โดยนายจ้างไม่สามารถบังคับให้ทำงานหรือบังคับให้ออกนอกประเทศได้ ในกรณีที่ลูกจ้างที่ประสบอุบัติเหตุยังอยู่ระหว่างการรักษา แต่สามารถทำงานได้ ลูกจ้างผู้นั้นยังมีสิทธิรับค่ารักษาพยาบาลจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษาโดยได้รับค่าจ้างแรงงานจากนายจ้าง แต่หมดสิทธิ์รับค่าทดแทนการขาดรายได้ (ข้อยกเว้น: กรณีทำงานในสถานประกอบการภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ ประมง ล่าสัตว์ กิจการป่าไม้ที่มีการตัดโค่น มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป ที่ไม่ใช่นิติบุคคลและมีลูกจ้างต่ำกว่า 5 คน ลูกจ้างไม่ได้รับการคุ้มครองจากประกันค่าทดแทนอุบัติเหตุในอุตสาหกรรม) ทั้งนี้ เงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์ครอบคลุมสาเหตุดังต่อไปนี้ด้วย

  • กรณีได้ประสบอุบัติเหตุในระหว่างไปทำงานหรือกลับบ้านหลังเลิกงาน ถือว่าประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน (ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561)
  • กรณีได้ประสบอุบัติเหตุในระหว่างไปทำงานหรือกลับบ้านที่พักหลังเลิกงาน โดยใช้เส้นทางและวิธีประจำ ถือว่าประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน  แม้ว่าออกนอกเส้นทางไปทำงาน กรณีที่มีเหตุผลที่จำเป็นต้องทำในการใช้ชีวิตประจำวันระหว่างไปทำงานหรือกลับที่พักหลังเลิกงาน เช่น ระหว่างส่งลูกไปโรงเรียนอนุบาล และไปทำงาน ระหว่างไปหาหมอและไปทำงาน ระหว่างซื้อของใช้ในบ้านและไปทำงาน ระหว่างดูแลสมาชิกครอบครัวที่ป่วย หรือ ปฎิบัติงานที่จำเป็นต้องทำในการใช้ชีวิตประจำวันและไปทำงาน
  • กรณีประสบอุบัติเหตุในระหว่างออกจากที่ทำงานไปรับประทานอาหารกลางวัน ถือว่า

ประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน และระหว่างไปรับประทานอาหารกลางวันในบริเวณที่ทำงาน ถือว่าประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน

สำหรับแรงงานต่างชาติที่พำนักแบบผิดกฎหมาย หากเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานให้ใช้

ใบรับรองแพทย์ และเอกสารรับรองจากสำนักงานประกันอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน ไปดำเนินการขออนุญาต พำนักชั่วคราวในเกาหลีใต้จนสิ้นสุดการรักษา (วีซ่า G-1) ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทั้งนี้การอนุญาตขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

สิทธิประโยชน์จากอุบัติเหตุอันเนื่องจากการทำงาน มีดังนี้

  • ค่ารักษาพยาบาล (Medical Care Benefits) : เป็นเงินที่จ่ายให้แก่แรงงานที่ประสบ

อันตราย หรือเจ็บป่วยจากการทำงาน ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป ได้แก่ ค่าตรวจวินิจฉัย ค่ายา ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าผ่าตัด ค่าอวัยวะเทียม ค่าส่งต่อ

  • ค่าทดแทนกรณีสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานเป็นการชั่วคราว (Temporary

Disability Benefits) ป็นเงินที่จ่ายเพื่อทดแทนการขาดรายได้ระหว่างรับการรักษาพยาบาลในอัตราร้อยละ 70 ของค่าจ้างเฉลี่ยรายวัน                                      

  • ค่าทดแทนรายปี (Injury-disease Compensation Annuity) เป็นเงินที่จ่ายให้แรงงาน

ที่ได้รับการรักษาพยาบาลนานกว่า 2 ปี แต่ยังไม่สิ้นสุดการรักษา จำนวนค่าทดแทนขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียสมรรถภาพของการทำงาน ดังนี้ ระดับที่ 1 ได้รับค่าทดแทน 329 วัน ของค่าจ้างเฉลี่ย /ระดับที่ 2 ได้รับค่าทดแทน 291 วัน ของค่าจ้างเฉลี่ย /ระดับที่ 3 ได้รับค่าทดแทน 257 วัน ของค่าจ้างเฉลี่ย

  • ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพถาวร (Permanent Disability) เป็นสิทธิประโยชน์สำหรับ

แรงงานที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจนพิการทางร่างกายหรือจิตใจ จำนวนเงินทดแทนขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน

  • ค่าดูแล (Nursing Benefits) สำหรับแรงงานที่สิ้นสุดการรักษาพยาบาลแล้วแต่ยังจำเป็น

ต้องมีผู้ดูแลเป็นประจำหรือครั้ง

  • ค่าจัดการงานศพ (Funeral Expenses) เป็นค่าใช้จ่ายจริงที่จ่ายให้แก่ผู้จัดการศพ

ของแรงงานที่เสียชีวิตจากการทำงาน โดยคำนวณจ่ายเท่ากับ 120 วันของค่าจ้างเฉลี่ยรายวัน

                       2.7 ค่าทดแทนแก่ทายาท (Survivors Benefits) เป็นสิทธิประโยชน์ที่จ่ายแก่ทายาท หรือผู้อยู่ ในอุปการะของแรงงานที่เสียชีวิตจากการทำงาน โดยเหมาจ่ายให้จำนวน 1,300 วันของค่าจ้างเฉลี่ยรายวัน

  1. การประกันกรณีชราภาพ หรือที่เรียกว่า กุกมินยอนกึม

    ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 แรงงานที่ทำงานในสถานประกอบการซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่     

1 คนขึ้นไป จะต้องเข้าร่วมโครงการเงินบำนาญแห่งชาติด้วยการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินบำนาญ เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิต โดยนายจ้างและลูกจ้างจะต้องร่วมจ่ายเงินสมทบกองทุนฝ่ายละ 4.5 % ของรายได้ สมาชิกกองทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้

3.1 เงินบำนาญกรณีทุพพลภาพ เป็นเงินที่จ่ายให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการที่ประสบอันตราย หรือ

เจ็บป่วยระหว่างเข้าร่วมโครงการ และมีอาการทุพพลภาพหลังสิ้นสุดการรักษาพยาบาล จำนวนเงินบำนาญขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของความทุพพลภาพ สำหรับความทุพพลภาพระดับ 1- 3 จะได้รับเงินบำนาญเป็นรายปี ส่วนความทุพพลภาพระดับ 4 จะได้รับเป็นเงินก้อน

3.2 เงินบำนาญกรณีเสียชีวิต กรณีผู้เข้าร่วมโครงการเสียชีวิตหรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพ

บำนาญทุพพลภาพเสียชีวิต ทายาทจะได้รับเงินช่วยยังชีพรายเดือน ทั้งนี้ ทายาทสามารถยื่นคำร้องขอรับสิทธิประโยชน์ย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี

3.3 เงินบำเหน็จ (เงินก้อน) กรณีเป็นแรงงานต่างชาติจะสามารถขอคืนเงินสมทบ (ส่วนของ

นายจ้างและลูกจ้าง) พร้อมดอกเบี้ยเมื่อเดินทางกลับประเทศ (ขอรับคืนภายในเวลา 5 ปี นับจากวันที่เดินทางออกจากสาธารณรัฐเกาหลี) หรือเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์

  1. การประกันภัยทั่วไป

แรงงานต่างชาติต้องทำประกันภัยทั่วไปภายใน 15 วัน นับจากวันที่เดินทางเข้ามาทำงาน

ในสาธารณรัฐเกาหลี อัตราเบี้ยประกันภัยทั่วไป ขึ้นอยู่กับ เพศ และอายุของแรงงานต่างชาติ โดยผู้เอาประกันจะได้รับการคุ้มครองภายในระยะเวลา 3 ปี ทั้งนี้ การประกันภัยทั่วไปจะไม่คุ้มครองเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล โดยจะชดเชยเฉพาะกรณีได้รับอุบัติเหตุที่ไม่เนื่องมาจากการทำงานทั้งในกรณีทุพพลภาพหรือเสียชีวิตบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้ประเมินความสูญเสีย และจ่ายเงินชดเชย แรงงานต่างชาติสามารถสมัครประกันภัยทั่วไป ณ ศูนย์ฝึกอบรมแรงงานต่างชาติที่แรงงานผู้นั้นเข้ารับการอบรมก่อนส่งต่อให้นายจ้าง ทั้งนี้ เบี้ยประกันภัยจะถูกตัดผ่านบัญชีธนาคารที่แรงงานต่างชาติแจ้งไว้ ทั้งนี้หากแรงงานต่างชาติเดินทางออกนอกสาธารณรัฐเกาหลี ก่อนที่การประกันภัยจะหมดอายุ 3 ปี เนื่องจากสิ้นสุดการทำงานหรือยกเลิกสัญญาจ้าง โดยไม่มีการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยใดๆ (ยังไม่มีการใช้สิทธิ์ชดเชย) สามารถรับสิทธิเงินคืนบางส่วนได้ แรงงานต่างชาติที่ฝ่าฝืนไม่ทำประกันภัยทั่วไป มีโทษปรับสูงสุด ไม่เกิน 5 ล้านวอน

 


4772
TOP