Skip to main content

หน้าหลัก

ขั้นตอนการคัดเลือกและการจ้างแรงงานต่างชาติ EPS ทั่วไป

◎ ขั้นตอนการคัดเลือกและการจ้างแรงงานต่างชาติ EPS ทั่วไป     (วีซ่า E 9 จาก 15 ประเทศ)  มีทั้งสิ้น 9 ขั้นตอน คือ

 
               (1) การตัดสินใจนโยบายสำคัญๆ เกี่ยวกับจำนวนแรงงานต่างชาติที่นำเข้าและประเทศที่ส่งแรงงาน จะพิจารณาและตัดสินใจโดยคณะกรรมการนโยบายแรงงานต่างชาติ (FWPC: จัดตั้งขึ้นในสังกัดสำนักประสานงานนโยบายรัฐบาล) โดยพิจารณาประเด็นหลักๆ เกี่ยวกับแรงงานต่างชาติ เช่น อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง  จำนวน(โควต้า/เพดาน) แรงงานต่างชาติที่นำเข้า  ประเทศที่ส่งแรงงาน ฯลฯ 

 
               (2)  การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งแรงงาน (ระหว่างรัฐบาลเกาหลีใต้ กับ รัฐบาลของประเทศผู้ส่ง) โดยรัฐบาลเกาหลีใต้จะลงนามบันทึกความเข้าใจกับประเทศที่ยอมรับขั้นตอนการรับสมัครของเกาหลีใต้เพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับการจัดส่งแรงงานต่างชาติ   โดยบันทึกความ- เข้าใจฯ มีผลบังคับใช้คราวละ 2 ปี จากนั้นจะประเมินผลการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงนาม MOU ครั้งต่อไป 

 
               (3) แรงงานต่างชาติของประเทศผู้ส่งที่ต้องการทำงาน  จะถูกคัดเลือกโดยหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องของประเทศผู้ส่งตามวิธีการและกระบวนการที่รัฐบาลเกาหลีกำหนด   เช่น  คะแนนการทดสอบภาษาเกาหลีและประสบการณ์ทำงาน  โดยจัดส่งรายชื่อผู้หางานต่างชาติที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกไปยังสถาบันบริการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แห่งประเทศเกาหลี หรือ HRD Korea) 

  
                (4) การสมัครขออนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติ (ระหว่างนายจ้าง กับ กระทรวงแรงงานฯเกาหลีใต้) นายจ้างที่ได้ประกาศว่าจ้างแรงงานในประเทศแล้ว 7 วัน  แต่ไม่สามารถหาแรงงานได้ จะได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างชาติผ่านศูนย์สนับสนุนการว่าจ้าง (Employment Security Center : ESC)
                   

                (5) การคัดเลือกแรงงานต่างชาติและการออกใบอนุญาตว่าจ้าง  (ระหว่างนายจ้าง กับ กระทรวงแรงงานเกาหลีใต้)    ศูนย์สนับสนุนการว่าจ้างจะให้ข้อมูลแรงงานต่างชาติจากบัญชีรายชื่อผู้หางานต่างชาติแก่นายจ้าง  เพื่อให้นายจ้างคัดเลือกแรงงานต่างชาติที่มีคุณสมบัติตามความต้องการ  เมื่อนายจ้างคัดเลือกแรงงานต่างชาติที่ต้องการแล้ว ศูนย์สนับสนุนการว่าจ้างจะออกใบอนุญาตว่าจ้างให้แรงงานต่างชาติที่ถูกคัดเลือก
                

                (6) การลงนามสัญญาจ้างแรงงาน (ระหว่างนายจ้าง กับแรงงานต่างชาติ) นายจ้างจะลงนามในสัญญาจ้างแรงงานตามแบบฟอร์มมาตรฐานกับแรงงานต่างชาติที่ถูกคัดเลือก โดยสัญญาจ้างจะกำหนดเงื่อนไขของสัญญาและข้อตกลงอื่นๆ ได้แก่ ค่าแรง เวลาทำงาน วันหยุด สถานที่ทำงาน ฯลฯ  ทั้งนี้   นายจ้างอาจทำสัญญาจ้างโดยตรงกับแรงงานต่างชาติ  หรือมอบหมายให้ HRD Korea เป็นผู้ดำเนินการแทน 
              

                (7)  การออกใบรับรองเพื่อขอวีซ่า (ระหว่างนายจ้าง กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) นายจ้างยื่นใบอนุญาตว่าจ้างแรงงานต่างชาติและสัญญาแรงงานมาตรฐาน เพื่อให้กระทรวงยุติธรรมออกใบรับรองเพื่อการขอวีซ่าแก่แรงงานต่างชาติ โดยนายจ้างอาจมอบหมายให้ HRD Korea เป็นผู้ดำเนินการแทน
       

                (8)  การรับแรงงานต่างชาติ  ( ระหว่างนายจ้าง กับ แรงงานต่างชาติ)  นายจ้างส่งใบรับรองเพื่อการขอวีซ่าให้แรงงานต่างชาติจากนั้นแรงงาน    ต่างชาติที่ถูกคัดเลือกจะได้รับวีซ่าทำงานจากสถานเอกอัครราชทูตเกาหลีประจำประเทศผู้ส่ง และเดินทางเข้าไปทำงานในเกาหลีใต้   ทั้งนี้แรงงานต่างชาติที่เข้าไปทำงานในเกาหลีใต้จะต้องเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการว่าจ้างภายใน 15 วัน ณ สถาบันฝึกอบรม
ที่เกี่ยวข้อง

 

           ※ สถาบันอบรมการว่าจ้าง

                HRD Korea (ชาวเกาหลีที่มีสัญชาติอื่น), สถาบันแรงงานสากลแห่งประเทศเกาหลี  (เวียดนาม มองโกเลีย ไทย จีน)   , สหภาพธุรกิจขนาดย่อมแห่งประเทศเกาหลี (ศรีลังกา   ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย  อุซเบกิส-ถาน ปากีสถาน กัมพูชา เนปาล บังกลาเทศ พม่า  คีร์กิซสถาน  ติมอร์ตะวันออก)

 

                (9)  การจัดการเกี่ยวกับการพำนักของแรงงานต่างชาติ  (ระหว่างนายจ้างกับกระทรวงแรงงาน/ กระทรวงยุติธรรม)  ถึงแม้ว่าโดยหลักการแล้วคนงานต่างชาติจะถูกห้ามมิให้ย้ายไปทำงานที่อื่น  อย่างไรก็ตาม  แรงงานต่างชาติสามารถย้ายไปทำงานที่อื่นได้ ในกรณีที่มีเหตุผลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น การหยุดกิจการชั่วคราวหรือการปิดกิจการ และการที่นายจ้างยกเลิกสัญญาจ้างแรงงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งนี้ รัฐบาลเกาหลีใต้เข้มงวดกับแรงงานที่อยู่อาศัยและทำงานอย่างผิดกฎหมาย รวมทั้งมีมาตรการป้องกันไม่ให้แรงงานต่างชาติตั้งรกรากในประเทศ  โดยกำหนดระยะเวลาการว่าจ้างครั้งละ 3 ปีและต้องต่อวีซ่าทุกปี


82282
TOP